Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the becustom domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/travelsmil/domains/travelsmile.org/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับประเทศมาเลเซียที่เราควรทำความเข้าใจกันใหม่ - สถานที่ท่องเที่ยว จองโรงแรม แนะนำที่เที่ยวในประเทศไทย

7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับประเทศมาเลเซียที่เราควรทำความเข้าใจกันใหม่

4468 0

ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐด้วยกันทั้งหมด 13 รัฐ รวมถึงดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน มีเนื้อที่ทั้งหมด 330, 803 ตารางกิโลเมตร มีบริเวณติดต่อกับประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยทางตอนใต้ของเราด้วย ซึ่งถือว่าอยู่ใกล้และเดินทางไปมาหาสู่กันสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับไทยและมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความคิดหรือความเชื่อผิด ๆ ที่คนไทยเรามีต่อประเทศเพื่อนบ้านนี้อยู่เช่นกัน วันนี้ iPrice ประเทศไทยจึงมานำเสนอความเชื่อผิด ๆ เหล่านั้นและข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียมาบอกต่อกัน ดังนี้
1. คนไทยมักเชื่อว่าชาวมาเลเซียล้วนแต่เป็นมุสลิม
คนไทยหลายคนที่ยังไม่เคยมาเยือนประเทศมาเลเซียมักจะคิดว่าชาวมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม 100% ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็คงจะเจอแต่คนที่เคร่งศาสนา แต่ขอบอกเลยว่าความเชื่อนี้นั้นเป็นความเชื่อที่ผิดเป็นอย่างมาก เพราะที่จริงแล้วประเทศอิสลามมีคนนับถือศาสนาอิสลามประมาณ 60.4% เท่านั้น นอกจากนั้นก็จะมีผู้ที่นับถือศาสนาพุทธราว ๆ 19.2% ศาสนาคริสต์ประมาณ 11.6% ศาสนาฮินดูราว ๆ 6.3% และศาสนาอื่น ๆ อีกประมาณ 2.5% (อ้างอิงจาก blogspost.my)
2. ไปมาเลเซียยังไงก็ต้องมีแต่คนคลุมผม
สำหรับใครที่คิดว่าประเทศมาเลเซียจะเต็มไปด้วยผู้หญิงคลุมผมและกลัวทำตัวไม่ถูกแล้วละก็ ถือเป็นความเชื่อที่ผิดอีกเช่นกัน เพราะมีเพียง 8 ใน 10 เท่านั้นที่คลุมผม เนื่องจากอย่างที่ได้กล่าวไปว่าในประเทศมาเลเซียมีคนนับถือศาสนาอื่น ๆ พอสมควร ทั้งยังมีถึง 3 เชื้อชาติอาศัยรวมกันด้วย ซึ่งจะมีทั้งมาเลย์ จีน และอินเดีย จึงทำให้วัฒนธรรมและการแต่งตัวแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งจะมีทั้งคนคลุมผม ไม่คลุมผม แต่งตัวแบบสมัยใหม่ รวมถึงแต่งตัวแนวอินเดียร่วมสมัยด้วย คนที่เคยมาเที่ยวที่ประเทศมาเลเซียก็จะรู้ว่าส่วนใหญ่แล้ว คนที่นี่ก็แต่งตัวตามปกติเหมือนบ้านเรา เรียกได้ว่าทันสมัยพอสมควรเลยละ เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่วางแผนมาเที่ยวมาเลเซียก็แต่งตัวได้ตามสบายเลย แต่ขอให้แต่งถูกกาลเทศะก็พอแล้ว
3. ทุกคนในประเทศมาเลเซียต้องพูดภาษามาเลย์
ชาวไทยเราบางคนยังอาจคิดว่าชาวมาเลเซียทุกคน แม้จะมีหลายเชื้อชาติ แต่ก็ล้วนพูดภาษามาเลย์กันหมดแน่ ๆ ทว่าขอบอกเลยว่าไม่ใช่ เพราะแต่ละเชื้อชาติก็มีภาษาแม่ของตัวเองอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมาเลย์ จีน หรืออินเดียก็มีภาษาเป็นของตัวเองกันหมด แต่เมื่อต้องการสื่อสารกันก็ใช้ภาษาอังกฤษแทน ซึ่งภาษามาเลย์จะเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีการใช้ภาษาอังกฤษ จีน และทมิฬด้วย โดยการมีหลายเชื้อชาตินี้ถือเป็นข้อดี เพราะชาวมาเลเซียหลายคนสามารถพูดได้มากกว่า 2 ภาษาเลยทีเดียว
4. มาอยู่มาเลเซียต้องหาเนื้อหมูกินยากแน่ ๆ
เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้มีข้อห้ามกินเนื้อหมู หลายคนจึงอาจคิดว่าถ้ามาเที่ยวหรือมาอยู่มาเลเซียคงจะคิดถึงเมนูอาหารหมู ๆ แย่เลย แต่ขอบอกเลยว่าเนื้อหมูไม่ได้หายากอย่างที่คิด เพราะผู้ที่ชอบทานเนื้อหมูหรืออยากทานบ้างนั้น สามารถเลือกซื้อเนื้อหมูตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้เลย เนื่องจากในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ จะมีมุมไว้ให้คนรักเนื้อหมูซื้อไปทำอาหารทานโดยเฉพาะ ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่เนื้อหมู แฮม เบคอน ไส้กรอก รวมไปจนถึงเครื่องปรุงสำเร็จรูปให้ไปประกอบอาหารทานได้แบบสบาย ๆ หรือถ้าใครอยากทานเมนูหมู ๆ ตามร้านอาหารละก็ ขอแนะนำให้ทานตามร้านอาหารจีนได้เลย รับรองมีให้เลือกทานหลายเมนูแน่นอน
5. คนใช้รถใช้ถนนน่าจะเหมือนบ้านเรา
ข้อนี้ถือเป็นความเชื่อที่ไม่ผิดแล้วก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะคนที่ประเทศมาเลเซียก็ขับรถ ขับขี่รถจักรยานยนต์เหมือนบ้านเรา แต่ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์จะมีเทรนด์การใส่เสื้อแจ็กเก็ตหรือเสื้อคลุมขณะขับขี่ที่แปลกใหม่สักหน่อย และถือว่าน่าแปลกใจสำหรับคนที่เพิ่งมาเยือนมาเลเซียอย่างแน่นอน เพราะคนขับขี่รถยานยนต์ส่วนใหญ่ชอบที่จะใส่เสื้อแจ็กเกตและเสื้อคลุมกลับด้าน คือใส่ด้านหลังไว้ด้านหน้าขณะขับขี่ อาจจะใส่กันลม กันแดด หรือคิดว่าถอดเก็บง่าย แต่สำหรับคนที่เพิ่งเคยเห็นครั้งแรกนั้นก็อาจจะหงุดหงิดสักหน่อย และอาจจะคิดว่าทำไมไม่ใส่ตามปกติที่เขาให้ใส่ก็เป็นได้ นอกจากนั้นอีกข้อที่เราอาจจะเข้าใจผิดกันบ้างก็คือสัญญาณไฟจราจร ซึ่งเราอาจจะคิดว่าเหมือนบ้านเราอีกแล้ว แต่ที่จริงแล้วค่อนข้างจะแตกต่างกันเลยทีเดียว โดยสัญญาณไฟทางตรงกับทางเลี้ยวจะแยกกันอยู่คนละเสาเลยละ สำหรับใครที่มาครั้งแรกอาจจะงง ๆ กันสักนิด
6. ชาวมาเลเซียตรงต่อเวลา
ข้อนี้ก็อาจจะจริงบ้างและไม่จริงบ้างเช่นกัน ถึงแม้ว่าชาวมาเลเซียดูจะเป็นชาวต่างชาติที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติในสายตาเราและเราก็มักจะคิดว่าเวลานัดพวกเขาเหล่านั้นทุกคนจะตรงต่อเวลาแล้วละก็ ขอบอกว่าไม่ใช่เลย เพราะชาวมาเลเซียก็เหมือนกับคนไทยเราเนี่ยแหละ จะตรงหรือไม่ตรงเวลาก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเช่นกัน แต่ชาวมาเลเซียก็มักจะบอกต่อ ๆ กันมาว่า ชาวมาเลย์แท้นั้นมักจะมาสายตลอด ชาวจีน-มาเลย์จะมาก่อนเวลาสักประมาณ 5 นาที ส่วนชาวอินเดีย-มาเลย์ก็มาสายมากไม่แพ้กัน ถือว่าเป็นเรื่องน่ารัก ๆ ที่ชาวมาเลเซียล้อกันก็ว่าได้
7. มาเลเซียไม่มีเกย์
ในประเทศมุสลิมอย่างประเทศมาเลเซีย คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าประเทศนี้ไม่มีเกย์เนื่องจากมีกฏหมายที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ซึ่งหลายๆข่าวที่เราได้ยินก็คือถ้าหากถูกจับได้อาจจะถูกลงกฏหมายคือการกักขังกว่า 2 ปี ถึงแม้ว่ากฏหมายจะรุนแรง แต่ที่ใดๆในโลกนี้ล้วนมีคนรักเพศเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่รักเพศเดียวกันจะต้องอยู่ในสังคมอย่างปกปิดเพื่อไม่ให้เป็นจุดเด่น อย่างไรก็ตามที่มาเลเซียเริ่มเปิดกว้างมากขึ้นโดยมีผับเฉพาะของผู้ที่รักเพศเดียวกันเปิดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นความเชื่อที่ว่ามาเลเซียไม่มีเกย์นั้นผิดเต็มๆ
ทั้งนี้อาจจะมีความเชื่อหรือความคิดอื่น ๆ ที่เราเข้าใจผิดอยู่อีกมาก แต่วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเพียง 7 ข้อไปก่อน ถ้าหากมีโอกาสก็อาจจะได้มาอัพเดตกันอีกบ้าง และสำหรับความเชื่อที่ชาวไทยเรามีต่อประเทศมาเลเซียและชาวมาเลเซียนั้น แนะนำว่าให้มาเยือนมาเลเซียแล้วลองสัมผัสวัฒนธรรมของเชื้อชาติต่าง ๆ ด้วยตัวเอง รับรองว่าจะได้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่และน่าประทับใจอย่างแน่นอน ก็เหมือนสุภาษิตที่ว่า ‘สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น’ นั่นแหละ ทุกอย่างเราต้องมาเจอด้วยตัวเองถึงจะรู้ว่าจริงเท็จแค่ไหน

ภัคสรกัญญ์ ทองคำ iPrice

admin

รับเขียนบทความ SEO, ขายลิงค์ SEO หรือ Contents ทุกประเภท ยกเว้นสื่อลามก อนาจาร, รับโปรโมทเว็บไซต์ หรือส่งคอนเท้นท์ ประชาสัมพันธ์ได้ที่ jajeed2015@gmail.com

Related Post

Leave a comment